การแขวนพระของหลวงปู่ดู่ วัดสะแก เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองสูงสุด น่าจะ
แขวนเพื่อน้อมจิต ดึงจิตระลึกไปในพระพุทธคุณ (คุณของพระพุทธเจ้า) , พระธรรมคุณ (ซาบซึ้งในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ทุกๆข้อ และ พระสังฆคุณ (คุณแห่งพระอริยสงฆ์เจ้าทุกๆองค์อาจารย์ที่เราเคารพนับถือ) รวมถึงการพยายามหลีกเลี่ยงการกระทำบาปทั้งปวงให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ด้วยละอายต่อพระที่เราสวมใส่ในคอตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงในสถานที่อโคจร เป็นต้น
เมื่อแขวนพระเป็นสื่อล่อให้ใจเข้าหาพระไตรสรณคมณ์เป็นอารมณ์ จิตน้อมไปในพรหมวิหารธรรม 4 คือ ดำรงจิตให้อยู่ในกรอบแห่งความเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เป็นอารมณ์ พยายามรักษาไว้ให้เป็นสิ่งปกติประจำตัวเรา
เช่นนี้แล้ว..ผู้ได้ชื่อว่า จิตที่พยายามดำรงให้อยู่ในพรหมวิหารธรรมเป็นนิจ จิตย่อมสบายขึ้น เบาขึ้น ดิ้นร้นทุรนทุรายน้องลง ลดการไขว่คว้าอะไรจนเกินเหตุ จิตเบาๆ..กลางๆ..สบายๆ...
พระพุทธคุณเกิดตรงนี้..ไม่ได้เกิดที่ตัววัตถุอิฐ หิน ปูน ทราย แต่เกิดที่จิตของเรานี้เอง ...
จำคำครูบาอาจารย์ท่านขึ้นมาพูดว่า
" ผู้ที่ใส่พระ ถ้าเขาใส่อย่างถูกวิธี คุณวิเศษต่างๆย่อมเกิดขึ้นแก่เขาเองในทุกๆด้าน แม้นเทวดาท่านก็รับรู้ โดยไม่ต้องบ่นบานศาลกล่าว ท่องบ่นสาธยาย จุดธูปจุดเทียนขอร้องท่านใดๆ จิตที่มีไตรสรณคมณ์เป็นอารมณ์ จิตที่ขาวสะอาดมีพรหมวิหารธรรมเป็นอารมณ์ เช่นนี้แล้วสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เทวดาต่างๆ ท่านรับรู้ แม้เพียงเรานึกเฉยๆ ท่านก็รู้แล้ว ท่านช่วยแล้ว แต่แขวนพระแล้วจิตดำๆ มืดๆ พระท่าน เทวดาท่านจะเข้าไปถึงจิตเราได้อย่างเรา ท่านจะช่วยเราได้อยางไร ท่านช่วยไม่ได้หรอก ท่านไม่ได้ยินที่เราพูดที่เราบนบานข้อร้องท่านหรอก จิตดำมืดซะขนาดนั้น มันสื่อกันไม่ได้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ท่านช่วยเพราะจิตมันนำ ไม่ใช่อิฐ หิน ปูน ทราย มันนำเข้าใจมั๊ย "
อีกตอนหนึ่งที่จำได้..
" ทำการค้าการขาย เขายังต้องลงทุน ลงแรงกันก่อน แขวนพระก็เช่นกัน แขวนแล้วต้องทำความดี แขวนแล้วต้องละอายต่อบาปทั้งปวง เอาท่านไปไหนมาไหนด้วยจะเอาท่านไปที่ไม่ดี ทำไม่ดีไม่งามต่างๆได้อย่างไร นั่น..จำไว้ มันต้องลงทุนกันก่อน แขวนแล้วต้องชำระล้างจิตใจตนเองให้ได้ก่อน ลงทุนลงแรงให้ท่านเห็นก่อน พิสูจน์ให้ท่านเห็นก่อน ว่าสะอาดแล้ว ขาวพอแล้ว คราวนี้แกไม่ต้องขออะไรท่านหรอก แค่นึกท่านก็รู้แล้ว ท่านเมตตาสงสาร ท่านช่วยแล้ว จิตแกขาวสะอาดเท่าไรท่านก็ได้ยินแกชัดขึ้น เห็นแกชัดขึ้นตามลำดับ.
บทความกระทู้จาก บอร์ด http://board.palungjit.org/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น